ความเป็นจริงจากประวัติ
จากประวัติวิเคราะห์ โดยหนังสือประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากผู้เขียนหลายต่อหลายท่าน จากการบอกเล่าที่สืบต่อกันมาจากสายตระกูลต่างๆล้วนแล้วแต่มีความใกล้เคียงกันทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ประวัติประการแรก คือ พระพิมพ์ของท่านจะทยอยสร้างและทยอยแจกไไปเรื่อยๆ (ความเป็นจริงคือ ไม่มีผู้ใดสามารถรู้ว่าพระของท่านได้สร้างไว้จำนวนเท่าใด และกี่ลักษณะพิมพ์ทรง พิมพ์ทรงละกี่บล็อคแม่พิมพ์
ประวัติประการที่สอง คือ ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายให้ท่านมีมากมาย เริ่มจากกลุ่มของช่างสิบหมู่ วึ่งมีหลวงสิทธิ์เป็นหัวหน้า นายเจิมและนายจอน วงศ์ช่างหล่อตลอดถึงหลวงวิจารณ์ เจียรนัย ที่เป็นช่างทองในวังและเป็นผู้ที่แกะแม่พิมพ์ได้สวยที่สุด (ความเป็นจริงคือ ไม่มีบันทึกใด ระบุชัดเจนว่ามีช่างผู้แกะบล็อคแม่พิมพ์กี่คน มีบันทึกสืบสานมาเพียงว่า หลวงวิจารณ์ เจียรนัย แกะบล็อคแม่พิมพ์ได้สวยที่สุด)
ประวัติประการที่สาม คือ เนื้อพระของท่านมีสร้างไว้หลายเนื้อในโอกาสต่างๆกันตลอดถึงมวลสารก็มีมากมาย มวลสารหลักๆตามที่บันทึกระบุว่าจะอยู่ในแนวเดียวกันทั้งสิ้น (ความเป็นจริง คือ เนื้อหาของพระสมเด็จไม่ได้เจาะจงตายตัว แต่ผงวิเศษและมวลสารที่เป็นหลักๆ ซึ่งพระพิมพ์ของท่านต้องมีผสมอยู่ทุกองค์เพียงแต่มากหรือน้อยเท่านั้น)
ประวัติประการที่สี่ คือ ก่อน พ.ศ.๒๔๙๕ การสร้างพิมพ์พระแต่ละวัด จะมีรูปทรงของของแต่ละวัดเป็นเอลักษณ์ของวัดเอง ไม่มีวัดใดเลียนแบบของวัดอื่น เพราะไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ทรงอะไร ของวัดใดก็สร้างขึ้นมาเพื่อแจกให้กับสาธุชนที่มาทำบุญที่วัดเท่านั้น มิได้มีการซื้อ-ขาย เช่าหากันอย่างปัจจุบัน (ความเป็นจริง คือ วัดต่างๆจึงไม่มีความจำเป็นจะสร้างพิมพ์พระเลียนแบบวัดอื่น โดยส่วนมากจึงสร้างพระตามเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อให้แตกต่างจากวัดอื่น เพระเป็นจุดเด่นของวัด ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้และชื่นชมสืบไป เพราะฉะนั้นพิมพ์ทรงพระสมเด็จฯจึงไม่น่ามีวัดใดจงใจสร้างเลียนแบบอย่างแน่นอน)
ประวัติประการที่ห้า คือ ก่อน พ.ศ. ๒๔๙๕ นักนิยมสะสมพระเครื่องส่วนมากจะไม่มีการเช่าซื้อกันอย่างปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะนั่งสนทนาและแลกเปลี่ยนพระเครื่องซึ่งกันและกัน โดยจะแลกเปลี่ยนกันองค์ต่อองค์ หรือองค์ต่อ 2 ต่อ 3 องค์ ก็แล้วแต่จะตกลงกัน มีการแถมสตางค์กันบ้างก็เพียงเล็กน้อย นักนิยมสะสมพระเครื่องต่างก็ต้องการมีพระเครื่องหลายๆรูปแบบ หลายๆวัดไว้ในครอบครองเท่านั้น พระเครื่องรูปแบบใดหายากก็แลกกัน 1 องค์ต่อหลายองค์ การเช่าหาด้วยการซื้อขายอย่างปัจจุบันมีน้อย ปรมาจารย์ที่สะสมพระเครื่องมาไม่น้อยกว่า 40 ปีขึ้นไป ทุกท่านต่างคงรู้ดี (การเช่าหาพระเครื่องเริ่มมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วนี่เอง) สาเหตุเพราะมีหนังสือนิตยสารพระเครื่องออกสู่วงการนั่นเอง ความเป็นจริงคือ ก่อนปี พ.ศ.๒๔๙๕ การปลอมพระผงในขณะนั้นไม่น่าจะมีเพราะยังมีมูลค่าน้อย จะเริ่มพบมีการปลอมบ้าง ก็อยู่ในช่วงปี ๒๕๐๔ ถึง ๒๕๐๕ แต่การปลอมในขณะนั้นไม่เก่ง โดยเฉพาะเนื้อหาและความเก่าตามธรรมชาติ ยังไม่สามารถทำให้เหมือนหรือใกล้เคียงได้ ยิ่งถ้าเป็นก่อน พ.ศ. ๒๔๙๕ และที่ห่างไกลยาวนานไปอีก ยิ่งไม่มีคนคดทำปลอม เพราะ
1) สาธุชนสมัยก่อนทั่วไปต่างกลัวบาปกลัวกรรม
2) พระสมเด็จของท่านก็หาได้ไม่ยาก (ค่านิยมยังน้อยกว่า พระเนื้อชิน)
3) การเช่าซื้อขายไม่มี จะมีก็แต่การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเป็นส่วนใหญ่ ถึงขั้นจะต้องแถมสตางค์กันบ้างก็คงจะมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนหรือให้กันฟรีๆเหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน การให้พระกันแบบฟรีๆยังมีมากมาย
ด้วยความปรารถนาดี
คนชอบสะสมพระ
E-mail : phrathaicenter@gmail.com
www.phrathaicenter.com